|
จุดสร้างกระเช้าลอยฟ้า
พื้นที่4.6ตร.กม.
ทางขึ้นปราสาทผ่านดินแดนไทย
แผนที่ปราสาทพระวิหาร 1:50,000
ภาพถ่ายดาวเทียมที่ตั้งวัดแก้ว
คำตัดสินของศาลโลกใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ศาลตีความด้วยว่า ศาลในปี 2505 อธิบายพื้นที่รอบปราสาท โดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ พื้นที่รอบปราสาทนี้ ในคำตัดสินวันนี้เรียกว่า Area around the temple ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีที่มาเดิม เป็นคำที่ศาลได้กำหนดขึ้นในวันนี้ แต่สิ่งสำคัญคือ ศาลในวันนี้บอกว่า ศาลในปี 2505 ใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ สัณฐานทางภูมิศาสตร์ เป็นหลักศาลในวันนี้ก็ตีความว่า พื้นที่พิพาทในคดีเดิม แคบและจำกัดอย่างชัดเจน ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ ด้วยสัณฐานทางภูมิศาสตร์ ในทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งหมดนี้ใช้สัณฐานทางภูมิศาสตร์ ส่วนทางเหนือนั้น จำกัดโดยขอบเขตของดินแดนกัมพูชา ตามที่ศาลชี้ขาดในส่วนเหตุผลของคำพิพากษา 2505
บริเวณใกล้เคียงปราสาท ศาลตีความว่า จำกัดอยู่เฉพาะยอดเขาพระวิหาร ตรงนี้ คือคำว่า Promontory (ขออนุญาตใช้ยอดเขาชั่วคราวไปก่อน) ศาลตีความเช่นนี้ด้วยเหตุผลว่า 1. พื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาท ไม่รวมภูมะเขือ เพราะภูมะเขือกับยอดเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่แยกจากกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดพระวิหารของกัมพูชา ในปี 2505 ในคดีเก่า ก็ระบุว่า ภูมะเขืออยู่คนละจังหวัดกับยอดเขาพระวิหาร ทนายความของกัมพูชาท่านหนึ่งก็กล่าวว่า ภูมะเขือ ไม่ใช่บริเวณสำคัญสำหรับการพิจารณาของศาล
ศาลยังให้เหตุผลว่า เหตุที่เลือกพื้นที่ใกล้เคียงที่ตีความในวันนี้ เป็นอย่างนี้ เพราะว่าการตีความของกัมพูชาในปัจจุบัน ที่อ้างพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเส้นแผนที่ 1:200,000 ตามที่เขาถ่ายทอด กับสันปันน้ำตามที่ไทยเสนอ ในปัจจุบัน แต่ว่าศาลในคดีเดิมระบุไว้ชัดว่า ไม่สนใจที่จะรู้ว่าสันปันน้ำอยู่ที่ไหน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ศาลในคดีเดิมจะนึกถึงสันปันน้ำ เมื่อใช้คำว่าบริเวณใกล้เคียง
ศาลในปัจจุบันจึงชี้ขาดว่า ไทยต้องถอนบุคลากรทั้งหมดออกจากดินแดนทั้งหมดของยอดเขาพระวิหาร ซึ่งอธิบายขอบเขตไว้ในวรรคที่ 98 แต่ศาลไม่ได้แนบแผนที่ประกอบ จึงไม่มีเส้นให้เราเห็น
ศาลรับทราบข้อต่อสู้ของไทยว่าเป็นการยากที่จะถ่ายทอดเส้นบนแผนที่ 1:200,000 ลงบนพื้นที่จริง
การถ่ายทอดเส้นบนแผนที่ 1:200,000 ลงบนพื้นที่จริงนี้ ไม่อาจดำเนินการฝ่ายเดียวได้ อันนี้คือการตีความวรรค 2 เป็นประเด็นสำคัญที่สุด
1. ประเด็นว่าศาลในคดีเดิมได้กำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยมีผลผูกพันหรือไม่
2. พันธกรณีการถอนกำลังของไทย เป็นพันธกรณีต่อเนื่องตามความหมายของคำขอของกัมพูชาหรือไม่
สองประเด็นนี้ศาลไม่เห็นว่ามีความจำเป็นต้องวินิจฉัย
ประเด็นที่ 8 ประเด็นที่ศาลระบุเพิ่มเติม ศาลระบุว่าไทยและกัมพูชาต้องร่วมมือกัน และร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องปราสาท ในฐานะที่เป็นมรดกโลก และจำเป็นต้องให้มีทางเข้าถึงปราสาทจากที่ราบในฝั่งกัมพูชา
เส้นบนแผนที่ 1:200,000 ถ่ายทอดออกมาแล้ว ทำไม่ได้ นอกจากว่าจะเกิดเป็นเส้นตามอำเภอใจ เปลี่ยนจุดนิดเดียว พื้นที่จะขยับไปเยอะมาก ไม่สามารถที่จะมีเส้นที่ reliable และยุติธรรมได้ เราก็ได้เสนอต่อศาลว่า จริงๆ แล้ววิธีที่จะถ่ายทอดเส้นนี้ให้ถูกต้องที่สุด ต้องใช้เจตนารมณ์ผู้ทำแผนที่ พ.อ.แบร์กนาร์ และคณะ ซึ่งเจตนารมณ์นั้นคือการแสดงสันปันน้ำ
อีกประเด็นที่อยากจะชี้ก็คือว่า การที่ศาลมุ่งไปที่ภูมิศาสตร์ จริงๆ แล้วเรามองว่าเป็นประโยชน์แก่ไทย เพราะว่าเท่ากับลดบทบาท เส้นแผนที่ 1:200,000 แผนที่ 1:200,000 จะเข้ามาได้จำกัดมาก เพราะมันจะถูกภูมิศาสตร์บีบเอาไว้จนเหลือให้แคบที่สุด เพราะฉะนั้นในการเจรจา ก็สามารถที่จะพยายามดูว่า ที่ศาลหมายความอย่างนี้ อยู่ตรงนี้ สัณฐานทางภูมิศาสตร์ที่จะนำมาใช้อยู่ตรงไหนบ้าง เส้น 1:200,000 จะเข้ามา ต้องจำกัดอยู่แค่นั้นเท่านั้น
ที่มา คำต่อคำ “ทูตวีรชัย” รับกลางสภา ไทยเสียดินแดนเกินเส้นมติ ครม.ปี 05
เหตุ
เกาะคา
มีส อลินา มิรอง ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ฝ่ายไทย
วันพุธ ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556, 18.08 น.
http://www.naewna.com/politic/48741
17 เม.ย.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก มีส อลินา
มิรอง ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ฝ่ายไทยแถลงเสร็จสิ้น
พบว่าเธอได้รับเสียงสรรเสริญชื่นชมในการทำงานจากโลกออนไลน์
อะลีนา
มีรอง ทนายเชื้อสายโรมาเนีย แถลงด้วยภาษาฝรั่งเศส ผู้ช่วยของโปรเฟสเซอร์อแลง เปเล่
ทนายชาวฝรั่งเศสของไทย เธอเป็นอาวุธลับที่ขึ้นมาพูดเรื่อง 'map' โดยเฉพาะ
กำลังขึ้นมาฉีก 'the Annex I map' ของกัมพูชาเป็นชิ้น ๆ
โดยใช้อาวุธหนักที่ทรงพลานุภาพของไทยตั้งแต่เมื่อปี 2505
ชื่อ 'map sheets 3' ที่อยู่ในรายงานสเกมาฮอน แห่งสถาบัน ITC
พยานผู้เชี่ยวชาญของไทย (Annex 49) ที่มาจากภาพถ่ายทางอากาศของอเมริกัน
ผสมกับการเดินสำรวจสถานที่จริงของนานเฟรเดริค อัครมัน ผู้ช่วยของศาสตราจารย์วิลเลม
สเกมาฮอน
'map sheet
3' หรือ 'The big map' ที่ไทยใช้แสดงในการให้การด้วยวาจาของศาสตราจารย์สเกมาฮอนต่อศาลเมื่อ
15 มีนาคม 2505
ศาลได้สกัด
'the big map' เฉพาะส่วนสำคัญออกมา 45 % ให้ชื่อว่า 'map 85 d'
เป็นแผนที่เดียวที่ศาลเมื่อปี 2505 จัดทำขึ้น และอะลีนา
มีรองได้นำมาแสดงอีกครั้งต่อศาลแห่งนี้หลังเวลาผ่านไป 51 ปี
เพียงแต่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น จึงไม่ต้องทำเป็นแผนที่ขนาดยาว 4.5 คูณ 3 เมตรมาแสดงเหมือนเดิม
ใช้เพียงภาพฉาย
คุณ sky เอามาให้ดู
สำหรับ มีส อลินา มิรอง ทนายความชาวโรมาเนียของฝ่ายไทย พูดภาษาฝรั่งเศส เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผนที่ ที่เป็นผู้ช่วยของ ศ.อแลง แปลเล่ต์ เพราะเป็นผู้ที่ ทำงานเรื่องแผนที่ โดยเฉพาะกว่า 60 ฉบับ ซึ่งท่านทูต กับน.ส.มิรอง ทำงานเรื่องแผนที่ ด้วยกันมาถึง 3 ปี อีกทั้งมีนายมาร์ติน แครป และ นายอสาสแตร์ เม็กโคนัล ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ จากมหาวิทยาลัยเดอรัมร่วมด้วย
สำหรับ มีส อลินา มิรอง ทนายความชาวโรมาเนียของฝ่ายไทย พูดภาษาฝรั่งเศส เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผนที่ ที่เป็นผู้ช่วยของ ศ.อแลง แปลเล่ต์ เพราะเป็นผู้ที่ ทำงานเรื่องแผนที่ โดยเฉพาะกว่า 60 ฉบับ ซึ่งท่านทูต กับน.ส.มิรอง ทำงานเรื่องแผนที่ ด้วยกันมาถึง 3 ปี อีกทั้งมีนายมาร์ติน แครป และ นายอสาสแตร์ เม็กโคนัล ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ จากมหาวิทยาลัยเดอรัมร่วมด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น