มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เขาพระวิหารในศาลโลก


ประมวลข่าว “ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร


จุดสร้างกระเช้าลอยฟ้า

















พื้นที่4.6ตร.กม.
















ทางขึ้นปราสาทผ่านดินแดนไทย
















แผนที่ปราสาทพระวิหาร 1:50,000

















ภาพถ่ายดาวเทียมที่ตั้งวัดแก้ว




















คำตัดสินของศาลโลกใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์

ศาลตีความด้วยว่า ศาลในปี 2505 อธิบายพื้นที่รอบปราสาท โดยใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ พื้นที่รอบปราสาทนี้ ในคำตัดสินวันนี้เรียกว่า Area around the temple ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีที่มาเดิม เป็นคำที่ศาลได้กำหนดขึ้นในวันนี้ แต่สิ่งสำคัญคือ ศาลในวันนี้บอกว่า ศาลในปี 2505 ใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ สัณฐานทางภูมิศาสตร์ เป็นหลัก

ศาลในวันนี้ก็ตีความว่า พื้นที่พิพาทในคดีเดิม แคบและจำกัดอย่างชัดเจน ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ ด้วยสัณฐานทางภูมิศาสตร์ ในทางทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งหมดนี้ใช้สัณฐานทางภูมิศาสตร์ ส่วนทางเหนือนั้น จำกัดโดยขอบเขตของดินแดนกัมพูชา ตามที่ศาลชี้ขาดในส่วนเหตุผลของคำพิพากษา 2505


บริเวณใกล้เคียงปราสาท ศาลตีความว่า จำกัดอยู่เฉพาะยอดเขาพระวิหาร ตรงนี้ คือคำว่า Promontory (ขออนุญาตใช้ยอดเขาชั่วคราวไปก่อน) ศาลตีความเช่นนี้ด้วยเหตุผลว่า 1. พื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาท ไม่รวมภูมะเขือ เพราะภูมะเขือกับยอดเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่แยกจากกัน ผู้ว่าราชการจังหวัดพระวิหารของกัมพูชา ในปี 2505 ในคดีเก่า ก็ระบุว่า ภูมะเขืออยู่คนละจังหวัดกับยอดเขาพระวิหาร ทนายความของกัมพูชาท่านหนึ่งก็กล่าวว่า ภูมะเขือ ไม่ใช่บริเวณสำคัญสำหรับการพิจารณาของศาล

ศาลยังให้เหตุผลว่า เหตุที่เลือกพื้นที่ใกล้เคียงที่ตีความในวันนี้ เป็นอย่างนี้ เพราะว่าการตีความของกัมพูชาในปัจจุบัน ที่อ้างพื้นที่ที่อยู่ระหว่างเส้นแผนที่ 1:200,000 ตามที่เขาถ่ายทอด กับสันปันน้ำตามที่ไทยเสนอ ในปัจจุบัน แต่ว่าศาลในคดีเดิมระบุไว้ชัดว่า ไม่สนใจที่จะรู้ว่าสันปันน้ำอยู่ที่ไหน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ศาลในคดีเดิมจะนึกถึงสันปันน้ำ เมื่อใช้คำว่าบริเวณใกล้เคียง

ศาลในปัจจุบันจึงชี้ขาดว่า ไทยต้องถอนบุคลากรทั้งหมดออกจากดินแดนทั้งหมดของยอดเขาพระวิหาร ซึ่งอธิบายขอบเขตไว้ในวรรคที่ 98 แต่ศาลไม่ได้แนบแผนที่ประกอบ จึงไม่มีเส้นให้เราเห็น


      ศาลรับทราบข้อต่อสู้ของไทยว่าเป็นการยากที่จะถ่ายทอดเส้นบนแผนที่ 1:200,000 ลงบนพื้นที่จริง 

การถ่ายทอดเส้นบนแผนที่ 1:200,000 ลงบนพื้นที่จริงนี้ ไม่อาจดำเนินการฝ่ายเดียวได้ อันนี้คือการตีความวรรค 2 เป็นประเด็นสำคัญที่สุด

       1. ประเด็นว่าศาลในคดีเดิมได้กำหนดเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยมีผลผูกพันหรือไม่
       
        2. พันธกรณีการถอนกำลังของไทย เป็นพันธกรณีต่อเนื่องตามความหมายของคำขอของกัมพูชาหรือไม่
       
        สองประเด็นนี้ศาลไม่เห็นว่ามีความจำเป็นต้องวินิจฉัย

ประเด็นที่ 8 ประเด็นที่ศาลระบุเพิ่มเติม ศาลระบุว่าไทยและกัมพูชาต้องร่วมมือกัน และร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อปกป้องปราสาท ในฐานะที่เป็นมรดกโลก และจำเป็นต้องให้มีทางเข้าถึงปราสาทจากที่ราบในฝั่งกัมพูชา

เส้นบนแผนที่ 1:200,000 ถ่ายทอดออกมาแล้ว ทำไม่ได้ นอกจากว่าจะเกิดเป็นเส้นตามอำเภอใจ เปลี่ยนจุดนิดเดียว พื้นที่จะขยับไปเยอะมาก ไม่สามารถที่จะมีเส้นที่ reliable และยุติธรรมได้ เราก็ได้เสนอต่อศาลว่า จริงๆ แล้ววิธีที่จะถ่ายทอดเส้นนี้ให้ถูกต้องที่สุด ต้องใช้เจตนารมณ์ผู้ทำแผนที่ พ.อ.แบร์กนาร์ และคณะ ซึ่งเจตนารมณ์นั้นคือการแสดงสันปันน้ำ 

       อีกประเด็นที่อยากจะชี้ก็คือว่า การที่ศาลมุ่งไปที่ภูมิศาสตร์ จริงๆ แล้วเรามองว่าเป็นประโยชน์แก่ไทย เพราะว่าเท่ากับลดบทบาท เส้นแผนที่ 1:200,000 แผนที่ 1:200,000 จะเข้ามาได้จำกัดมาก เพราะมันจะถูกภูมิศาสตร์บีบเอาไว้จนเหลือให้แคบที่สุด เพราะฉะนั้นในการเจรจา ก็สามารถที่จะพยายามดูว่า ที่ศาลหมายความอย่างนี้ อยู่ตรงนี้ สัณฐานทางภูมิศาสตร์ที่จะนำมาใช้อยู่ตรงไหนบ้าง เส้น 1:200,000 จะเข้ามา ต้องจำกัดอยู่แค่นั้นเท่านั้น


ที่มา    คำต่อคำ “ทูตวีรชัย” รับกลางสภา ไทยเสียดินแดนเกินเส้นมติ ครม.ปี 05







เหตุ 
เกาะคา  
















มีส อลินา มิรอง ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ฝ่ายไทย
วันพุธ ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556, 18.08 น. 
http://www.naewna.com/politic/48741



17 เม.ย.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก มีส อลินา มิรอง ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ฝ่ายไทยแถลงเสร็จสิ้น พบว่าเธอได้รับเสียงสรรเสริญชื่นชมในการทำงานจากโลกออนไลน์


อะลีนา มีรอง ทนายเชื้อสายโรมาเนีย แถลงด้วยภาษาฝรั่งเศส ผู้ช่วยของโปรเฟสเซอร์อแลง เปเล่ ทนายชาวฝรั่งเศสของไทย เธอเป็นอาวุธลับที่ขึ้นมาพูดเรื่อง 'map' โดยเฉพาะ กำลังขึ้นมาฉีก 'the Annex I map' ของกัมพูชาเป็นชิ้น ๆ โดยใช้อาวุธหนักที่ทรงพลานุภาพของไทยตั้งแต่เมื่อปี 2505 ชื่อ 'map sheets 3' ที่อยู่ในรายงานสเกมาฮอน แห่งสถาบัน ITC พยานผู้เชี่ยวชาญของไทย (Annex 49) ที่มาจากภาพถ่ายทางอากาศของอเมริกัน ผสมกับการเดินสำรวจสถานที่จริงของนานเฟรเดริค อัครมัน ผู้ช่วยของศาสตราจารย์วิลเลม สเกมาฮอน


'map sheet 3' หรือ 'The big map' ที่ไทยใช้แสดงในการให้การด้วยวาจาของศาสตราจารย์สเกมาฮอนต่อศาลเมื่อ 15 มีนาคม 2505


ศาลได้สกัด 'the big map' เฉพาะส่วนสำคัญออกมา 45 % ให้ชื่อว่า 'map 85 d' เป็นแผนที่เดียวที่ศาลเมื่อปี 2505 จัดทำขึ้น และอะลีนา มีรองได้นำมาแสดงอีกครั้งต่อศาลแห่งนี้หลังเวลาผ่านไป 51 ปี เพียงแต่เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น จึงไม่ต้องทำเป็นแผนที่ขนาดยาว 4.5 คูณ 3 เมตรมาแสดงเหมือนเดิม ใช้เพียงภาพฉาย

คุณ sky เอามาให้ดู
สำหรับ มีส อลินา มิรอง ทนายความชาวโรมาเนียของฝ่ายไทย พูดภาษาฝรั่งเศส เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผนที่ ที่เป็นผู้ช่วยของ ศ.อแลง แปลเล่ต์ เพราะเป็นผู้ที่ ทำงานเรื่องแผนที่ โดยเฉพาะกว่า 60 ฉบับ ซึ่งท่านทูต กับน.ส.มิรอง ทำงานเรื่องแผนที่ ด้วยกันมาถึง 3 ปี อีกทั้งมีนายมาร์ติน แครป และ นายอสาสแตร์ เม็กโคนัล ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ จากมหาวิทยาลัยเดอรัมร่วมด้วย



วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีการลงทะเบียน 2/2556

1. คลิกแผนการเรียนเดิมที่นี่ 
2. คลิกหลักสูตรฉบับเต็มที่นี่

3. แผนการเรียนปรับปรุงใหม่ในส่วนของเอกเลือก  ตามการลงทะเบียนแบบออนไลน์  ยึดหลักให้นักศึกษาจัดการเรียนด้วยตนเอง  โดยดูจากหลักสูตรฉบับเต็มและแผนการเรียน  แม้ว่าตามแผนจะเรียนในภาคเรียนอื่นที่ไม่ใช่ 2/2556 หรือเป็นวิชาในแขนงวิชาเลือกที่ไม่มีในแผนการเรียนเดิม  นักศึกษาสามารถเลือกได้ถ้าวิชานั้นเปิดสอนในภาคเรียนนี้  และนักศึกษาต้องการเรียน โดยดูจากข้อกำหนดในหลักสูตร   โดยเอกเลือกประวัติศาสตร์   รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์  กำหนดดังนี้ 



3.1 แขนงวิชาบังคับประวัติศาสตร์  เรียน 2 วิชา 6 หน่วยกิต


      แขนงวิชาเลือกประวัติศาสตร์  ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต  เลือกเรียน 2 หรือ 3 วิชา  



3.2 แขนงวิชาบังคับรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์  เรียน 2 วิชา 6 หน่วยกิต

      2551105 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์ (ในแผนเปิด 1/2557)  

      2551102 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ (ในแผนเปิด 2/2557) 

      แขนงวิชาเลือกรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์  ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต  เลือกเรียน 2 หรือ 3 วิชา  

     2552201 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ในแผนเปิด 1/2557) 

     2552302 การบริหารงานคลังและงบประมาณ (ในแผนเปิด 2/2557)  

     2552301 นโยบายสาธารณะและการวางแผน (แขนงวิชาเลือกใหม่ที่ไม่มีในแผนการเรียน) 

     2553302 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ (แขนงวิชาเลือกใหม่ที่ไม่มีในแผนการเรียน) 

    2553303 การบริหารการพัฒนา (แขนงวิชาเลือกใหม่ที่ไม่มีในแผนการเรียน) 

    2562501 กฎหมายปกครอง (แขนงวิชาเลือกใหม่ที่ไม่มีในแผนการเรียน) 

    2554104 แนวคิดประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น (แขนงวิชาเลือกใหม่ที่ไม่มีในแผนการเรียน) 

    2562503 กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย (แขนงวิชาเลือกใหม่ที่ไม่มีในแผนการเรียน) 

    2563305 สิทธิมนุษยชน (แขนงวิชาเลือกใหม่ที่ไม่มีในแผนการเรียน) 

    2564101 กฎหมายการปกครองท้องถิ่น (แขนงวิชาเลือกใหม่ที่ไม่มีในแผนการเรียน) 

3.3  การเลือกวิชาเอกเลือกประวัติศาสตร์   รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ เลือกเรียน 2 หรือ 3 วิชา  แต่เมื่อรวมเอกเลือกทั้งหมด  ไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต 

3.4 วิชาชีพครูเลือก  เรียน 5 วิชา 10 หน่วยกิต


3.5  

4. วิธีจอง    คลิกที่นี่ http://reg1.srru.ac.th  คลิกเข้าสู่ระบบ  พิมพ์รหัสนักศึกษา


5.

6. 

7. 

8. 

9.  วิธีการที่เหลือ  ดูหน้า 8 ข้อ 10-18  ที่นี่  http://reg1.srru.ac.th/download/manual_regis_srru.pdf


    



วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เรียนรู้วิธีการใช้ Google napsใหม่



https://www.youtube.com/playlist?list=PLcRbp4LqBpwFpqdfEVOanvjmeVMUk5fAV

  1. How to use the new Google Maps: Directions

    โดย Google Maps  40,395 ครั้ง
    http://maps.google.com/previe…
  2. 2

    How to use the new Google Maps: Search

    โดย Google Maps  27,354 ครั้ง
    http://maps.google.com/preview…
  3. 3

    How to use the new Google Maps: Imagery

    โดย Google Maps  39,109 ครั้ง
    http://maps.google.com/previe…
  4. 4

    How to use the new Google Maps: A map built for you

    โดย Google Maps  21,718 ครั้ง
    http://maps.google.com/previe…
  5. 5

    Meet the new Google Maps

    โดย Google Maps  1,554,894 ครั้ง
    http://maps.google.com/preview/…

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ใบประกอบวิชาชีพครู



"จาตุรนต์" ปลดล็อคไร้ใบประกอบวิชาชีพ

วันอังคารที่ 10 กันยายน 2556 เวลา 14:00 น.
เมื่อวันที่ 10 ก.ย. นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการมีปัญหาการขาดแคลนครู แต่ไม่สามารถที่จะจ้างคนเก่งที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเฉพาะด้าน อาทิ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต วิทยาศาสตร์บัณฑิต มาเป็นครูได้ เพราะติดปัญหาในเรื่องของใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ซึ่งไม่ใช่จะมีปัญหาเฉพาะในสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เท่านั้น แต่ในส่วนของโรงเรียนเอกชน และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็มีปัญหาในเรื่องการจ้างครูต่างประเทศมาสอน เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ซึ่งตนมองว่าข้อกำหนดดังกล่าวเป็นระบบที่ปิดเกินไป ทำให้เป็นอุปสรรคไม่สามารถดึงคนที่มีความรู้ในวิชาชีพต่างๆมาเป็นครูได้ ทั้งที่คนเหล่านั้นสามารถที่จะเข้ามาสอนเพื่อทดแทนครูที่เรากำลังขาดแคลนได้ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ไปตั้งวงพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในภาพรวม หากต้องแก้กฎหมายเพื่อปลดล็อคปัญหาเพื่อเปิดทางให้ผู้ที่มีความรู้ความ เชี่ยวชาญในวิชาชีพต่างๆเข้ามาเป็นครูได้ก็สามารถทำได้ เพราะตนไม่อยากให้ไปปิดช่องทางที่จะให้ผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ หรือผู้ที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้นๆเข้ามาเป็นครู

ดร.ชัยพฤกษ์  เสรีรักษ์  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า ทางครุสภาเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 44 ของพ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  ที่กำหนดไว้ว่าผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ คุณสมบัติ มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด  ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าว ไม่มีความยืดหยุ่น ทำให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมาเป็นครูได้
ดังนั้นคุรสภาจึงเสนอทางออกโดยการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราดังกล่าว และกำหนดให้กรรมการคุรุสภาสามารถยกเว้นเงื่อนไขข้อนี้ได้ ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมตรงนี้ไม่ได้เป็นการแก้ทั้งมาตรา จึงสามรถเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณา และเข้าสภาได้ทันที 3 สาระ เพราะถือว่าไม่ผิดเจตนารมณ์ในเรื่องใบประกอบวิชาชีพครู ขณะเดียวกันยังช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูในวิชาชีพเฉพาะได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ นาฏศิลป์ ฯลฯ และไม่ได้ช่วยปลดล็อคเฉพาะปัญหาขาดแคลนครูของสอศ. เท่านั้น แต่ยังทำให้หน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอชน (สช.) สามารถจ้างผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมาสอนได้มากขึ้น
เดลินิวส์ http://www.dailynews.co.th/education/232094