ที่มา สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2551).
สังคมศึกษา หมายถึงการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนให้อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ สังคมศาสตร์ หมายถึง การศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์โดยใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่มา http://www.udompanya.in.th/upload/20080911142539.pdf [2554, มีนาคม 16].
วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554
แผนที่ผิดทิศ
ข่าวเศรษฐกิจ มติคณะรัฐมนตรี -- พุธที่ 27 ตุลาคม 2553 14:29:52 น.
เรื่อง การแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิในที่ดินของราษฎรบ้านหนองปลิง ตำบลดอนเมย อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญ (รายนายเด่นภัทร ทองคำ)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จ่ายค่าทดแทนที่ดิน ค่าชดเชยต้นไม้ และค่าเสียโอกาสในการทำประโยชน์ในที่ดิน จำนวนเงิน 676,799 บาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาแก่นายเด่นภัทร ทองคำ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวเห็นสมควรให้กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย เจียดจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ที่ได้รับจัดสรรแล้วไปดำเนินการ ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การศึกษาสภาพการอ่านและการแปลความหมายจากแผนที่ : การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการแปลความหายจากแผนที่ ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสามเงาวิทยาคม อำเภอสามเงา
ชื่อผู้วิจัย นางชลอ ถนัดวณิชย์ ตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 7 สถานศึกษา โรงเรียนสามเงา อ.สามเงา จ.ตาก ช่วงระยะเวลาที่ทำวิจัยปีการศึกษา 2546
ประวัติความเป็นมา(history) ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การอ่านและการแปลความหมายจากแผนที่ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาสังคมศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบของการดำรงชีวิตมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เปรียบเทียบวัฒนธรรมสังคมมนุษย์ในแต่ละภูมิภาคของโลกได้ เพราะการที่นักเรียนสามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้นั้น จะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจพิกัดภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและพืชพรรณ ของตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก ที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละภูมิภาค สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลในเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ การได้ศึกษาไปในโลกกว้างบนแผนที่ ลูกโลก ภาพถ่าย วีดิทัศน์ ซีดีรอม หรือ Internet ทำให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้าอย่างสนุกเร้าใจ กระตือรือร้นและมีความสุข
การที่นักเรียน เข้าใจความสัมพันธ์ของสภาพทางกายภาพของโลก กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ถูกต้อง จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ หรือวิชาอื่นๆ เมื่อนักเรียนเรียนอย่างเข้าใจ จนเกิดการเรียนรู้เป็นขั้นตอน ก็จะเกิดทัศนคติที่ดี ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในสังคมยุคปัจจุบันต่อไป
ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
จากการสอนวิชาทวีปของเรา ของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้สอนพบว่านักเรียนส่วนหนึ่งได้รับผลการเรียนต่ำ
เนื้อหาวิชาทวีปของเรา จำนวนร้อยละ 70 เป็นสาระทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ในด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศและพืชพรรณ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพของประชากร รวมไปถึงการก่อกำเนิดแหล่งอารยธรรมในบริเวณลุ่มแม่น้ำ การรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ของประเทศในแต่ละภูมิภาคของทวีป การศึกษาเนื้อหาดังกล่าว นักเรียนจะต้องมีความเข้าใจ มีทักษะที่คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบความสัมพันธ์อิทธิพลและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ จนสามารถเสนอแนะ แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคของทวีปเอเชียได้
ถ้านักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ ก็จะเป็นปัญหาอุปสรรคอย่างมาก ที่จะทำให้นักเรียนสนใจ กระตือรือร้นที่จะศึกษาค้นคว้า เกิดทัศนคติไม่ดีต่อวิชา เป็นสาเหตุให้ผลการเรียนของนักเรียนในวิชานี้ต่ำ
สาเหตุของปัญหา
นักเรียนอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ไม่ได้
วิธีการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะภาคปฏิบัติ โดยเน้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และอยู่ในความควบคุมของผู้วิจัย
การอ่านและการแปลความหมายจากแผนที่ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาสังคมศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาสาขาวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบของการดำรงชีวิตมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เปรียบเทียบวัฒนธรรมสังคมมนุษย์ในแต่ละภูมิภาคของโลกได้ เพราะการที่นักเรียนสามารถอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้นั้น จะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจพิกัดภูมิศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและพืชพรรณ ของตำแหน่งต่างๆ บนพื้นผิวโลก ที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละภูมิภาค สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลในเรื่องราวความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ การได้ศึกษาไปในโลกกว้างบนแผนที่ ลูกโลก ภาพถ่าย วีดิทัศน์ ซีดีรอม หรือ Internet ทำให้นักเรียนศึกษา ค้นคว้าอย่างสนุกเร้าใจ กระตือรือร้นและมีความสุข
การที่นักเรียน เข้าใจความสัมพันธ์ของสภาพทางกายภาพของโลก กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ถูกต้อง จะเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาในกลุ่มวิชาสังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ หรือวิชาอื่นๆ เมื่อนักเรียนเรียนอย่างเข้าใจ จนเกิดการเรียนรู้เป็นขั้นตอน ก็จะเกิดทัศนคติที่ดี ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในสังคมยุคปัจจุบันต่อไป
ปัญหาในการจัดการเรียนการสอน
จากการสอนวิชาทวีปของเรา ของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้สอนพบว่านักเรียนส่วนหนึ่งได้รับผลการเรียนต่ำ
เนื้อหาวิชาทวีปของเรา จำนวนร้อยละ 70 เป็นสาระทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย ในด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศและพืชพรรณ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประกอบอาชีพของประชากร รวมไปถึงการก่อกำเนิดแหล่งอารยธรรมในบริเวณลุ่มแม่น้ำ การรวมกลุ่มทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง ของประเทศในแต่ละภูมิภาคของทวีป การศึกษาเนื้อหาดังกล่าว นักเรียนจะต้องมีความเข้าใจ มีทักษะที่คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบความสัมพันธ์อิทธิพลและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อมนุษย์ จนสามารถเสนอแนะ แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคของทวีปเอเชียได้
ถ้านักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ ก็จะเป็นปัญหาอุปสรรคอย่างมาก ที่จะทำให้นักเรียนสนใจ กระตือรือร้นที่จะศึกษาค้นคว้า เกิดทัศนคติไม่ดีต่อวิชา เป็นสาเหตุให้ผลการเรียนของนักเรียนในวิชานี้ต่ำ
สาเหตุของปัญหา
นักเรียนอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ไม่ได้
วิธีการแก้ปัญหา
ฝึกทักษะภาคปฏิบัติ โดยเน้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และอยู่ในความควบคุมของผู้วิจัย